กฎบัตรกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย/อภิธานศัพท์
These supplementary documents are provided by the Movement Charter Drafting Committee for information purposes, and to provide further context on the Wikimedia Movement Charter’s content. They are not part of the Charter, and therefore are not included in the ratification vote, but they have been developed during the course of the MCDC’s research and consultation process. They include several types of documents:
|
ความรับผิดชอบในการดูแล
“ความรับผิดชอบในการดูแล” ทำให้เป็นทางการและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับชุมชนกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดียที่พวกเขาให้การดูแลอยู่ ซึ่งไม่จำกัดเพียง: การจัดหาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ครอบคลุมและหลากหลายสำหรับสมาชิกชุมชนกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย อีกทั้งสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย ในโครงการออนไลน์ของวิกิมีเดีย ดำเนินงานเพื่อริเริ่มความรู้เสรีร่วมกับชุมชนดังกล่าว และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างชุมชนดังกล่าวกับประชาชนทั่วไป
ชุมชน
กลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในโครงการวิกิมีเดียหรือสนับสนุนพวกเขาในหลาย ๆ ด้าน (การสนับสนุน การจัดกิจกรรม การประสานงาน ฯลฯ) บุคคลเหล่านี้โดยทั่วไปเรียกว่าชาววิกิมีเดีย
เนื้อหา
เนื้อหาใด ๆ ที่เพิ่ม ลบ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ ดัดแปลง โดยผู้ใช้ที่ลงทะเบียนหรือไม่ได้ลงทะเบียน โดยใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ใด ๆ ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านใด ๆ ของโครงการวิกิมีเดีย
ความเสมอภาค
ความเสมอภาคคือความพยายามเพื่อให้แน่ใจว่าคุณสมบัติที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่ายได้รับการยอมรับและเคารพอย่างยุติธรรม รวมถึงการยอมรับสถานการณ์และอุปสรรคที่ส่งผลต่อความสามารถของทุกฝ่ายในการป้องกันไม่ให้มีความสำเร็จในแบบเดียวกัน การปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกันไม่ได้เกิดขึ้นได้
ความรู้เสรี
ความรู้เสรี ความรู้แบบเปิด และความรู้แบบเปิดและเสรี ไม่มีค่าใช้จ่ายและความรู้ที่เป็นสัญญาอนุญาตแบบเปิด ซึ่งสามารถนำมาใช้ นำกลับมาใช้ใหม่ และแจกจ่ายซ้ำได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางการเงิน สังคม หรือเทคโนโลยี
การระดมทุน
การระดมทุนคือการแสวงหาและรับเงินบริจาค ในกฎบัตรนี้ นิยามคำว่า “การระดมทุน” ใช้เพื่ออธิบายกระบวนการขอรับการบริจาคเงินจากองค์กรอิสระและผู้บริจาครายบุคคล และคำนี้รวมถึงเงินช่วยเหลือที่จัดหาโดยบุคคลที่สาม ซึ่งมักจะใช้เพื่อสนับสนุนในวัตถุประสงค์เฉพาะ
หากต้องการหาเงินด้วยวิธีอื่น ดูเพื่มที่การสร้างรายได้
การไม่แบ่งแยก
กฏบัญญัติเพื่อลดการกีดกันและการเลือกปฏิบัติ (ซึ่งไม่จำกัดเพียง อายุ ชนชั้นทางสังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา เพศ รสนิยมทางเพศ) โดยรวมทั้งตัวบุคคลและกลุ่มคณะ ผ่านการปรับเปลี่ยนการตั้งค่า นโยบาย และโครงสร้างเพื่อสร้างเงื่อนไขสำหรับการเกิดขึ้นของความหลากหลาย
การสร้างรายได้
การสร้างรายได้เป็นกระบวนการในการรับเงินทุนเพื่อสนับสนุนกลุ่มขับเคลื่อนในด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ตัวอย่างบางส่วนของการสร้างรายได้ ได้แก่ :
- การระดมทุน
- ซึ่งรวมถึงเงินช่วยเหลือที่มอบให้โดยบุคคลที่สาม (ไม่จำกัดหรือเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์เฉพาะ) ของขวัญ ของรางวัล หรือกิจกรรมระดมทุน
- ค่าสมาชิกขององค์กรพันธมิตร
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้คือ "การรับบริจาคต่าง ๆ" เมื่อองค์กรหรือบุคคลให้บริการและ/หรือสิ่งของทางกายภาพโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือโดยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่มีส่วนลด ตัวอย่างอาจรวมถึง:
- ห้องประชุมหรือพื้นที่สํานักงาน
- การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ
- เข้าถึงวัสดุต่าง ๆ ได้ฟรี
ทรัพยากร
ทรัพยากร คือ คลังหรือการจัดหาเงิน วัสดุ พนักงาน ความรู้ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่บุคคลหรือองค์กรสามารถนำมาใช้เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
ในบริบทของกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย ทรัพยากรต่าง ๆ ได้แก่:
- สินทรัพย์ทางการเงินที่ได้จากการสร้างรายได้
- บุคลากร (รวมถึงเวลาของพวกเขา น้ำพักน้ำแรง และความสามารถ; อาสาสมัครจำนวนมากที่ขับเคลื่อนกลุ่มขับเคลื่อน และพนักงานที่ได้รับค่าจ้างที่สนับสนุนอาสาสมัคร);
- ชื่อเสียงของกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย ตลอดจนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในฐานะแหล่งความรู้ที่เผยแพร่สู่โลกอย่างเสรีและเปิดเผย
- เนื้อหาของโครงการวิกิมีเดียที่พัฒนาและจัดการโดยอาสาสมัคร
- ที่เก็บข้อมูลทางกายภาพที่มีซอฟต์แวร์และเนื้อหาของโครงการวิกิมีเดีย และ
- เอกสารการศึกษาและข้อมูลเพื่อสนับสนุนโครงการและกิจกรรมอื่น ๆ ของกลุ่มขับเคลื่อน
ผู้ถือผลประโยชน์ร่วม
บุคคลหรือกลุ่มใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครหรือไม่ก็ตาม ได้ลงทุนด้านมนุษย์ การเงิน หรือทุนอื่น ๆ ในองค์กร ซึ่งอาจส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือได้รับผลกระทบจากการบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น
ในกฎบัตรนี้ “ผู้ถือผลประโยชน์ร่วม” คือบุคคลหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบรรลุวิสัยทัศน์ของกลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย หากให้เจาะจงยิ่งขึ้น คำนี้รวมถึงชุมชนออนไลน์และออฟไลน์ กลุ่มที่จัดตั้งขึ้น เช่น องค์กรพันธมิตรในเครือ มูลนิธิวิกิมีเดีย และสมาชิกจากระบบนิเวศข้อมูลออนไลน์ที่กว้างขึ้น เช่น หุ้นส่วนและพันธมิตรอื่น ๆ
หลักความเป็นรอง
หลักความเป็นรองเป็นหลักการที่ว่าการตัดสินใจควรทำในระดับต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยผู้ถือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่อยู่ในระดับสูงกว่าจะเข้ามาเมื่อจำเป็นเท่านั้น[1]
กลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย
“กลุ่มขับเคลื่อนวิกิมีเดีย” หมายถึงจำนวนรวมของบุคคล กลุ่ม และองค์กรที่สนับสนุนและมีส่วนร่วมในเว็บไซต์และโครงการของวิกิมีเดีย โดยรวมถึงผู้ที่ดำเนินการภายใต้นโยบาย หลักการ และคุณค่าของการขับเคลื่อน[2]
โครงการของวิกิมีเดีย
วิกิมีเดียมีโครงการองค์ความรู้มากมาย (เช่น วิกิพีเดีย วิกิพจนานุกรม วิกิวิทยาลัย และอื่น ๆ) โครงการวิกิมีเดียในท้องถิ่นหรือแต่ละโครงการเป็นโครงการความรู้ในรูปแบบภาษาเป็นหลัก (เช่น วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรมภาษาตุรกี) โครงการวิกิมีเดียบางโครงการเป็นแบบข้ามภาษาและไม่มีเวอร์ชันภาษาเฉพาะ (เช่น วิกิสนเทศ, วิกิมีเดียคอมมอนส์) นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชุมชนวิกิมีเดีย เช่น เมทาวิกิ และมีเดียวิกิ
หมายเหตุ
- ↑ ดูคำจำกัดความของหลักความเป็นรองและการจัดการตนเองจากหลักกลยุทธ์กลุ่มขับเคลื่อน
- ↑ Della Porta & Diani (2006) สังเกตว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมมีเกณฑ์สามประการร่วมกัน: (a) เป็นเครือข่ายของการมีปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการระหว่าง จำนวนบุคคล กลุ่ม และ/หรือองค์กร; (b) มีส่วนร่วมในความขัดแย้ง/การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือวัฒนธรรม และ (c) ดำรงอยู่บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ร่วมร่วมกัน การเคลื่อนไหวไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน เนื่องจากการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันมีแนวโน้มที่จะเข้ากันพอดี