Jump to content

Wikimedia Thailand/Wikimania 2024 scholarships

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki

การรับสมัครทุนสนับสนุนจากวิกิมีเดียประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมงานประชุมวิกิเมเนีย 2567

[edit]

วิกิมีเดียประเทศไทยมีทุนสนับสนุนเพื่อเข้าร่วมงานประชุมวิกิเมเนีย Wikimania Katowice ณ เมืองกาตอวิตแซ ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 7-10 สิงหาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 6 ทุน

ทุนนี้เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 23:59 (UTC+7) วิกิมีเดียประเทศไทยจะรับผิดชอบค่าตั๋วเครื่องบิน ที่พัก (พักคู่) ประกันการเดินทาง ค่าวีซ่า และค่าธรรมเนียมการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ผู้ที่เข้าร่วมงานประชุมวิกิเมเนียจะได้รับประทานอาหารมื้อกลางวันและมื้อเย็นในช่วงการประชุม ในขณะที่อาหารเช้าจะครอบคลุมโดยที่พัก

ข้อมูลการรับสมัคร

[edit]
  • ผู้สมัครต้องกรอกใบสมัครผ่าน Google form ที่กำหนดไว้ด้านล่าง
  • ข้อมูลส่วนบุคคลตัวที่ต้องระบุในแบบฟอร์มใบสมัครได้แก่ ชื่อบัญชีผู้ใช้ในวิกิมีเดีย อีเมล (เพื่อแจ้งผลการรับสมัคร) วันเดือนปีเกิด (เพื่อยืนยันการพ้นสภาพเป็นผู้เยาว์) และเพศ
  • ผู้สมัครต้องมีอายุอย่างน้อย 20 ปี ในวันสิ้นสุดของการสมัคร
  • ต้องถือสัญชาติไทย
  • เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เวลา 23:59 (UTC+7)
  • ประกาศผลในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567

คำถาม

[edit]

ในใบสมัคร ผู้สมัครทุกท่านต้องตอบคำถามต่อไปนี้

  1. หากมีคนเดินเข้ามาหาคุณแล้วถามคุณว่า “วิกิมีเดียคืออะไร” คุณจะตอบว่าอย่างไร?
  2. Wikimania 2024 Spirit “Collaboration of the Open” มีความหมายต่อคุณอย่างไร
  3. โปรดระบุการมีส่วนร่วมของคุณในวิกิพีเดีย ภาษาไทย โครงการพี่น้อง หรือ โครงการอื่นๆของวิกิมีเดีย คุณได้สร้างหรือสนับสนุนอะไรเพื่อปรับปรุงวิกิหรือชุมชนของคุณ? คุณเคยเป็นผู้นำหรือจัดกิจกรรมเหล่านี้หรือไม่? (สามารถแนบลิงก์ได้)
  4. คุณจะแบ่งปันประสบการณ์ หรือสิ่งที่คุณได้เรียนรู้จากงานวิกิเมเนีย 2024 กับชุมชนของคุณอย่างไร?

เกณฑ์การตัดสิน

[edit]

เกณฑ์การตัดสินจะยึดตามทุนวิกิเมเนียส่วนกลางโดยมูลนิธิวิกิมีเดียเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันแต่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนวิกิมีเดียในประเทศไทย จะพิจารผู้สมัครต่อไปนี้เป็นสำคัญ

  • เป็นผู้ใช้ที่ส่งผลงานไปนำเสนอในงานประชุมและได้รับการตอบรับจาก program committee แล้ว (ประกาศเดือนพฤษภาคม) (ถ้ามี)
  • เป็นผู้ใช้ในวิกิมีเดียภาษาไทยหรือชุมชนพี่น้องที่มีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นที่ประจักษ์
  • เป็นผู้ดูแลระบบหรือผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้งในวิกิพีเดียภาษาไทยหรือโครงการพี่น้องภาษาไทยอื่น ๆ
  • เป็นผู้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิกิมีเดียประเทศไทย เพื่อประโยชน์ของชุมชนวิกิมีเดียโครงการใดภาษาใดก็ได้
  • เป็นบุคคลจากองค์กรภายนอกที่มีพันธกิจสอดคล้องกับชุมชนเคลื่อนไหววิกิมีเดีย (Wikimedia Movement)

ทั้งนี้ วิกิมีเดียประเทศไทยจะฟังเสียงชุมชนประกอบด้วยเกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินข้างต้น ในทุกกรณีจะพิจารณาผลงานในหนึ่งปีที่ผ่านมาเป็นหลักและคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

กรรมการตัดสิน

[edit]

กรรมการตัดสินประกอบไปด้วยบุคคลดังต่อไปนี้

  • ตัวแทนจากวิกิมีเดียประเทศไทยที่ไม่ได้สมัครทุนนี้ (2 ท่าน) และ
  • ตัวแทนจากชุมชนที่เคยได้รับทุนปีที่แล้วและไม่ได้สมัครทุนในปีนี้ (อย่างน้อย 1 ท่าน) และ
  • ผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้สนับสนุนวิกิมีเดียประเทศไทย ได้แก่ สยามสมาคม และมูลนิธิ CCF (2 ท่าน) และ

ผู้ตัดสินจะต้องละเว้นการให้คะแนนผู้สมัครบางรายเมื่อมีผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest)

รายชื่อผู้ได้รับทุน

[edit]

ส่งใบสมัคร

[edit]

สมัครได้ที่นี่

สิ่งที่ได้จากในงาน

[edit]
ภาพถ่ายหน้าสถานที่จัดงาน Wikimania Katowice
สิ่งที่คาดหวังก่อนเข้าร่วมงาน วิกิเมเนียกาตอวิตแซ (Wikimania Katowice)

ในการเข้าร่วมงานวิกิเมเนียปีนี้ ที่จัดขึ้นที่เมืองกาตอวิตแซ ประเทศโปแลนด์ ก่อนเข้าร่วมงานอยากเห็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการวิกิพีเดีย ที่เริ่มมีความท้าทายในโลกยุคปัจจุบัน หลังจากที่วิกิพีเดียประสบความสำเร็จมาตลอด 20 ปี บทบาทของวิกิพีเดียจะเป็นอย่างไรในอนาคต นอกจากนี้มีคาดหวังที่จะได้ไปพูดคุย พบเจอชุมชนวิกิ จากทั่วทุกมุมโลกที่มีแนวคิดคล้ายกัน ในการพัฒนาความรู้เสรีให้เข้าถึงได้ทุกคนอย่างเท่าเทียม

ประสบการณ์ที่เจอระหว่างร่วมงานวิกิเมเนียกาตอวิตแซ
การต้อนรับโดยอาสาสมัครที่สนามบินที่กรุงกรากุฟ
บรรยากาศภายในห้องบรรยาย

ได้รับประสบการณ์ที่ดี เริ่มต้นตั้งแต่ลงเครื่องบินที่กรุงกรากุฟ (Kraków) มีทีมอาสาสมัครให้การต้อนรับอย่างดีที่สนามบิน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเดินทางไปยังเมืองกาตอวิตแซ ที่อยู่ห่างออกไป 80 กิโลเมตร ระหว่างงานได้เข้าร่วมรับฟังและพูดคุยในหลายเซชชัน ได้เรียนรู้เรื่องที่มีการอัปเดตในแวดวงวิกิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) ที่กำลังเป็นประเด็นพูดคุยกันว่า จะมาเป็นผู้ช่วยวิกิพีเดียหรือจะมาเป็นคู่แข่งวิกิพีเดีย รวมไปถึงรับฟังนโยบายและทิศทางต่างๆ ได้รับความรู้ และแรงบันดาลใจ ในหลายๆ ด้าน ท้ายสุดได้มีการพบปะพูดคุยกับชาววิกิที่มีจากหลากหลายประเทศ ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ทำกิจกรรมร่วมกันภายในงานและหลังเลิกงาน

โครงการนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจ และนำมาประยุกต์ใช้กับชุมชนวิกิมีเดียประเทศไทย

สองส่วนที่ได้เรียนรู้ระหว่างการเข้าร่วมงาน และอยากให้มีการผลักดันและมาประยุกต์ในเมืองไทย ได้แก่

  • การนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ในวิกิพีเดียได้อย่าง “เหมาะสม” ซึ่งในปัจจุบันมีการเริ่มการใช้งานวิกิพีเดียที่หลากหลาย ซึ่งส่งผลทั้งในแง่ดีและแง่ลบในชุมชน หากมีการวางแผน จัดเตรียม และร่วมมือวางนโยบายที่เหมาะสม สามารถช่วยให้การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การพัฒนาองค์ความรู้ในระดับพื้นถิ่น ที่ในปัจจุบันองค์ความรู้พื้นถิ่นจะมีการสูญหายไปเรื่อยๆ ในขณะที่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวิกิพีเดียเริ่มครบถ้วน ไม่มีการปรับแก้เพิ่มเติม โดยหากมีการผลักดันความรู้ระดับพื้นถิ่นในวิกิพีเดียภาษาไทย ให้มีเนื้อหาและการอ้างอิงที่เหมาะสมแล้ว จะเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายต่อไปในวิกิพีเดียภาษาอื่นได้อย่างต่อเนื่อง และเช่นเดียวกันความรู้พื้นถิ่นในภาษาอื่นก็สามารถขยายมายัง วิกิพีเดียภาษาไทยได้เช่นกัน
สิ่งที่คาดหวังก่อนเข้าร่วมงานวิกิเมเนียกาตอวิตแซ

ผู้ใช้ดังกล่าวคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการโครงการวิกิต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้นอกโครงการวิกิ เนื่องจากทราบว่างานประชุมครั้งนี้จะมีการเชิญภาคส่วนอื่นนอกเหนือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการวิกิด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยก่อนที่ผู้ใช้รายดังกล่าวจะเดินทางไปศึกษาต่อนอกราชอาณาจักร และพบเครือข่ายต่าง ๆ ที่อาจมีคววามร่วมมือกันในอนาคต

ประสบการณ์ที่เจอระหว่างร่วมงานวิกิเมเนียกาตอวิตแซ

ได้รับทราบประสบการณ์ที่หลากหลายในแง่มุมที่แตกต่างตามบริบทของกิจกรรม ตั้งแต่การนำข้อมูลบนวิกิสนเทศมาประยุกต์เป็นแผนที่ทางประวัติศาสตร์ การจัดการชุมชนอาสาสมัครผ่านการสื่อสารด้วยวัจนภาษา การเรียนรู้การนำอินเทอร์เน็ตอาร์ไคฟ์สำรองแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่วิกิพีเดียอ้างอิง การบริหารจัดการองค์ความรู้ในภาวะสงครามของยูเครน สื่อและทรัพย์สินททางปัญญา

นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่ได้พบเจอกับอาสาสมัครจากทั่วทุกมุมโลกที่มีความสนใจและบริบทร่วมกัน เช่น วิกิพีเดียเดือนแห่งเอเชีย ภูมิภาค ESEAP เป็นต้น

อีกประสบการณ์ที่ควรวค่าแก่การกล่าวถึง คือการได้ใช้เวลานอกเหนือจากการเข้าร่วมงานศึกษาความเป็นเมืองกาตอวิซแซและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่โดยรอบ ผ่านการเดินรอบเมือง การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองและพิพิธภัณฑ์ไซลีเชีย การเยี่ยมชมพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างค่ายกักกันนักโทษสงครามเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา

โครงการนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และนำมาประยุกต์ใช้กับชุมชนวิกิมีเดียประเทศไทย
  • การจัดกิจกรรมภาคพื้นและภาคออนไลน์เพื่อนำองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและนำความรู้ภายนอกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิที่เหมาะสม เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเขียนบทความ "รู้ไหมว่า"
  • การส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ และส่งเสริมการใช้สัญญาอนุญาตเสรีเพื่อเพิ่มปริมาณสื่อเสรีบนโครงการวิกิ