Jump to content

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย/การเดินสายรับฟังความคิดเห็นของมารยานา/แนวโน้มภายนอก

From Meta, a Wikimedia project coordination wiki
Outdated translations are marked like this.


Puzzles and Priorities | Reflections from Maryana’s Listening Tour

การเคลื่อนไหวของวิกิมีเดียได้ให้กำเนิดแก่หนึ่งในเว็บไซต์อันดับต้น ๆ ของโลก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีที่ใคร ๆ ก็แก้ไขได้ ได้มีการเข้ารับชมมากว่าหนึ่งหมื่นห้าพันล้านครั้งต่อเดือน วิกิพีเดียและโครงการพี่น้องต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นของกระดูกสันหลังของระบบนิเวศความรู้เสรีทั้งมวล เป็นการเคลื่อนไหวทั่วโลกของอาสาสมัครผู้มีส่วนร่วมซึ่งตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมาได้รวบรวมแหล่งสะสมความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และยี่สิบปีต่อจากนี้ไป เราจำเป็นต้องยึดงานของเราต่อไปภายใต้ความเป็นจริงของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะให้ขบวนการนี้สร้างสรรค์ระบบนิเวศของความรู้ของโลกต่อไป

เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมูลนิธิวิกิมีเดียคนใหม่ มารยานา อิสกันดัร ได้แบ่งปันบทสรุปที่เธอได้รับจากการเดินสายรับฟังความคิดเห็นพูดคุยกับผู้มีส่วนร่วม เจ้าหน้าที่ และพันธมิตรของวิกิมีเดียระยะเวลากว่าสองเดือน คำถามแรกของเธอเกี่ยวกับความจำเป็นต้องเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวจะสามารถคงความสำคัญท่ามกลางแนวโน้มภายนอกใหม่ ๆ ได้อย่างไร เพื่อรับรองว่าหลักการของการสร้างสรรค์ความรู้เสรีของเราจะดำรงอยู่ต่อไปในอนาคต ในฐานะที่เป็นการเคลื่อนไหว เราจำต้องถามตัวเอง "โลกต้องการอะไรจากเราในตอนนี้?"

เบื้องต้น ผู้นำมูลนิธิกลุ่มหนึ่งได้เริ่มค้นหาแนวโน้มภายนอกอันสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสารสนเทศ ทั้งในปัจจุบันและที่อาจจะเป็นในอนาคต แนวโน้มเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรคาดไว้ว่าจะเติบโตในปีที่จะมาถึง เพราะมันเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในวิธีการที่ผู้คนเข้าถึง ปฏิสัมพันธ์ และแบ่งปันความรู้

สิ่งเหล่านี้อาจแสดงถึงทั้งโอกาสและความท้าทายต่อการเคลื่อนไหวของเรา

การค้นหาได้เปลี่ยนไปโดยพื้นฐาน

ไม่ว่าผู้ใช้จะค้นหา อะไร หรือค้นหา อย่างไร ก็ได้เปลี่ยนไปโดยพื้นฐานในหลายไปที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจมีอิทธิพลต่อหนทางที่ผู้อ่านใหม่ ๆ มาถึงวิกิพีเดียและโครงการความรู้เสรีอื่น ๆ

สิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหากำลังเปลี่ยนไป: ผู้ใช้ที่คาดหวังคำตอบที่มีเนื้อหาเข้มข้น (นั่นคือในรูปแบบของภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง) ต่อการค้นหาซักถามมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น

แพลตฟอร์มเน้นเนื้อหาเข้มข้นอย่างอย่าง TikTok Instagram และ YouTube นั้นถูกใช้เป็นจุดเข้าสำหรับผู้แสวงหาสารสนเทศ (นั่นคือ ในฐานะโปรแกรมค้นหา) และได้สะสมผู้ชมจำนวนมหาศาล ในปี ค.ศ. 2021 เป็นต้น TikTok ได้มีการเยี่ยมชมสูงกว่า Google จนกลายเป็นโดเมนที่มีคนเข้าชมมากที่สุดในโลก

ด้วยการใช้ประโยชน์จากแนวโน้มนี้ แพลตฟอร์มออนไลน์ได้ลงทุนในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่เข้มข้นและติดหนึบ เพื่อรับรองว่าผู้ค้นหามายังและอยู่บนแพลตฟอร์มของพวกเขาต่อไป นี่ต่างจากโปรแกรมค้นหาดั้งเดิมซึ่งตอบการซักถามของผู้ใช้งานโดยชี้ทางไปยังเนื้อหาบุคคลที่สาม ตัวอย่างเช่น TikTok ได้ดึงดูดนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ มาสร้างสรรค์เนื้อหาด้านการศึกษาผ่านการใช้งานและการณรงค์ใหม่ ๆ เช่น Jumps และ #learnontiktok (ดูเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ในส่วนต่อไป)

ในความพยายามที่จะไม่ตกขบวน โปรแกรมค้นหาดั้งเดิมได้ลงทุนในประสบการณ์ค้นหาซึ่งเน้นภาพเช่นเดียวกัน Google กำลังเพิ่มทั้งข้อความและภาพลงบนแผงความรู้โดยตรง โดยหวังว่าผู้ใช้ที่มาใช้บริการ Google จะยังอยู่ในเว็บไซต์แม้จะเจอสิ่งที่ต้องการแล้ว

ให้ข้อเสนอแนะ


วิธีการค้นหาของผู้คนกำลังเปลี่ยนไป: เสียงกลายเป็นอีกหนึ่งวิธีหลัก ๆ ที่ผู้คนใช้ค้นหาออนไลน์

ทุกวันนี้ การค้นหา 30% จากทั้งหมดทั่วโลกนั้นทำด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีหน้าจอ ในปี ค.ศ. 2018 หนึ่งในสามของประชากรโลกใช้การค้นหาด้วยเสียงบนอุปกรณ์มือถือ และภายในปี ค.ศ. 2020 เลขตัวนั้นก็ได้เพิ่มเป็นมากกว่า 50% ในสหรัฐ ปริมาณครัวเรือนที่มีเครื่องเสียงอัจฉริยะถูกคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้นกว่า 55% ภายในปีนี้

ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มซึ่งพึ่งพาการค้นหาข้อความแบบเดิมสำหรับปริมาณการเยี่ยมชม การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการค้นหาเหล่านี้มีความหมายอย่างไรต่องานในปัจจุบันและในอนาคตของเรา

การสนองความต้องการเนื้อหาจากทั่วโลก

จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในทศวรรษที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในส่วนของทวีปเอเชียและแอฟริกาที่เพิ่งได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต แต่เนื้อหามากกว่าครึ่งบนอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้กลับอยู่ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่มีผู้พูดไม่ถึง 20% ของประชากรโลก แพลทฟอร์มอินเตอร์เน็ตต่างลงทุนทรัพยากรปริมาณมหาศาลในการสร้างสรรค์เนื้อหาต้นฉบับในภาษาท้องถิ่นเพื่อคงความสามารถในการแข่งขัน

โดยพวกเขาเหล่านั้นทำไปในสองทางหลัก ๆ

เพิ่มการลงทุนในการสร้างสรรค์และการแปลเนื้อหา

ผู้ใช้ได้รับการกระตุ้นให้สร้างสรรค์เนื้อหาบนแพลตฟอร์มชื่อดัง (เช่น YouTube, Substack) ผ่านช่องทางทำเงิน (การสนับสนุน การสมัครสมาชิก การโฆษณา) ซึ่งนำรายได้อย่างมีนัยสำคัญมาสู่ผู้สร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ ไม่นานมานี้ Facebook, Snap และ Twitter ล้วนได้ประกาศแผนการกระตุ้นทางการเงินสำหรับผู้ใช้ซึ่งมีเนื้อหาและ/หรือผู้ติดตามในระดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้สร้างสรรค์อันดับต้น ๆ ยังคงสร้างสรรค์และให้ผู้ใช้งานสมรรถนะสูงใหม่ ๆ มาใช้งานแพลตฟอร์ม มากไปกว่านั้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมการแผลได้เพิ่มขึ้นทวีคูณ ส่วนใหญ่ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากเทคโนโลยีผู้บริโภคใหม่ ๆ

ให้ข้อเสนอแนะ

การลงทุนในการแปลด้วยเครื่อง และการสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์สามารถแปลเนื้อหาได้ดีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แล้วยังสามารถสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ได้ด้วย ตัวอย่างเข่น Google ได้นำการแปลส่วนต่อประสานกับเครื่องโดยอัตโนมัติมาเป็นการใช้งานหลักในเบราว์เซอร์ Chrome: ผู้ใช้ที่ค้นหาเนื้อหาที่ไม่มีอยู่ในภาษาของพวกเขาเห็นเว็บไซต์ที่แปลเนื้อหามาจากภาษาอังกฤษมากขึ้น (ซึ่งรวมถึงวิกิพีเดีย) พวกเขายังได้ลงทุนในปัญญาประดิษฐ์เพื่อผลิตเนื้อหาใหม่ ๆ (เช่น บทความ/โครง Google Brain) พัฒนาการในปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งการแปลและการสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ ๆ ในระดับมูลวิวัติ ผู้เล่นในวงการเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่าง Google และองค์กรใหม่ ๆ อย่าง OpenAI กำลังแข่งกันสร้างเอนจินปัญญาประดิษฐ์เพื่อผลิตเนื้อหาที่ยืดหยุ่นและทนทานมากขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้อาจมีความสามารถสังเคราะห์และสร้างสรรค์ความรู้ที่ซับซ้อน (แม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีสมรรถภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงมนุษย์หรือไม่).

โครงการวิกิพีเดียแต่ละโครงการจะรับประกันว่าช่องว่างทางความรู้ของภาษาท้องถิ่นที่สำคัญต่าง ๆ จะถูกเติมเต็มได้อย่างไร? เราจะสร้างความตระหนักในตัวแบบการสร้างสรรค์เนื้อหาที่ขับเคลื่อนด้วยชุมชนของเราซึ่งต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องต่อไปได้อย่างไร?

ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนมีมากขึ้น

ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนกำลังเพิ่มมากขึ้น โดยแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือมีส่วนแบ่งการตอมรับในสื่อสังคมเพิ่มขึ้นสองเท่าในปี ค.ศ. 2020 เมื่อเทียบกับ ค.ศ. 2019 ข้อมูลเท็จและข้อมูลบิดเบือนนั้นเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วเนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ยินยอมให้เกิดขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงการอ่านทางออนไลน์ซึ่งมีลักษณะเป็นการมองกวาด การค้นดู และการอ่านแบบไม่เป็นเส้นตรงมากขึ้น

แพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ นำแนวทางสามแนวทางหลักมาใช้เพื่อจัดการกับวิกฤตข้อมูลเท็จนี้ หลายอย่างก็ยืมไปจากกระบวนการของวิกิมีเดียหรือพึ่งพาวิกิมีเดียเป็นฐานข้อมูลจริง แต่มีความประสบความสำเร็จที่จำกัด

การจ้างผู้ดูแลที่เป็นมนุษย์เพื่อเสริมอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์

TikTok เป็นต้น กำลังเพิ่มจำนวนผู้ดูแลเนื้อหาจาก 10,000 คนที่มีจ้างอยู่ในปัจจุบัน ในทางคล้ายกัน YouTube Pinterest และอื่น ๆ ก็กำลังเพิ่มจำนวนผู้ดูแลเนื้อหาที่เป็นมนุษย์

การคานให้วิกิพีเดียเป็นแหล่งตรวจสอบข้อเท็จจริง

InfoBanners (แถบข้อมูล) ของ YouTube ดึงเอาข้อมูลจากแหล่งบุคคลที่สาม ซึ่งรวมถึงวิกิพีเดีย เพื่อเพิ่มบริบทให้กับวิดิโอที่เสี่ยงต่อการเป็นข้อมูลเท็จ Google และ Facebook ใช้ hovercard วิกิพีเดียเพื่อเพิ่มบริบทให้กับเนื้อหาที่เสี่ยงเป็นการบิดเบือน

การทดลองกับการควบคุมดูแลด้วยชุมชน

ผลิตภัณฑ์ Birdwatch ของ Twitter ซึ่งยืมมาจากตัวแบบของวิกิพีเดียโดยตรงร้องขอให้ผู้ใช้แจ้งข้อความทวิตที่คิดว่าบิดเบือนและให้แปะหมายเหตุสาธารณะเพื่อเพิ่มบริบทที่เป็นประโยชน์

ขณะที่ข้อมูลเท็จและบิดเบือนเป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพของสารสนเทศในโครงการของวิกิมีเดียและแพลตฟอร์มอื่น ๆ ขบวนการวิกิมีเดียหากจะมีหน้าที่ควรเป็นหน้าที่ใดในการจัดการกับข้อมูลเท็จในระบบนิเวศของความรู้ในวงกว้าง?

ให้ข้อเสนอแนะ


แนวโน้มดังที่กล่าวมานี้มีศักยภาพที่จะแปรสภาพหน้าที่ของโครงการของวิกิมีเดียในระบบนิเวศของสารสนเทศวงกว้าง ในอนาคตที่เชื่อมต่อกันและซับซ้อนยิ่งขึ้น เราจำต้องเตรียมพร้อมรับมือปัจจัยภายนอกที่จะส่งอิทธิพลอื่น ๆ รวมถึงภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและการควบคุมโดยรัฐบาลที่ครอบคลุมซึ่งมุ่งหมายจะบัญญัติกฎหมายในประเด็นเรื่องภาวะเฉพาะส่วนตัว จนถึงการควบคุมดูแลเนื้อหา จนถึงอิทธิพลของแพลตฟอร์มสื่อสังคมต่อข้อมูลบิดเบือน (ดังเช่นในบล็อกโพสต์นี้ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาเพื่อเน้นย้ำถึงความเสี่ยงของกฎหมายที่กำลังจะมีในอนาคตและความสำคัญของการสนับสนุนนโยบายที่ปกป้องเสรีภาพในการพูดและระบบนิเวศของความรู้เสรีนี้)

ด้วยประสบการณ์กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา การเคลื่อนไหวนี้จะยังคงสร้างความร่วมมือที่สำคัญและเป็นบวกต่อไปต่อการเก็บเกี่ยวและการแบ่งปันความรู้เสรี แนวโน้มเหล่านี้และอื่น ๆ จะเป็นสิ่งที่ให้ข้อมูลเราในการนำแนวทางไปปฏิบัติระหว่างที่เราก้าวหน้าไปสู้วิสัยทัศน์อันกล้าหาญในปี ค.ศ. 2030 ในการขยับขยายความรู้เสรียิ่งขึ้นต่อไปแก่สังคมทั่วทุกมุมโลก